3.1 ชื่อเรื่องงานวิจัย

การตั้งชื่อเรื่องปัญหาการวิจัย (Research Title)

การเขียนชื่อเรื่องวิจัยต้องให้กระชับ กะทัดรัด แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรหรือประเด็นที่ต้องการจะศึกษาอย่างครบถ้วน

ผู้วิจัยต้องกำหนดชื่อหัวข้อปัญหาลงไปให้ชัดเจนว่า ปัญหานั้นคืออะไร ซึ่งการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยนั้น  รศ.ดร.ภญ. กัญญดา  อนุวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540) สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544) อ้างจาก ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ไพทูรย์  เวทการ. (2540.) ได้ให้ข้อคิดในการตั้งหัวข้อ ปัญหางานวิจัยไว้ดังนี้

1) ชื่อปัญหาควรสั้นกะทัดรัด และชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัยว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ครบคลุมปัญหาที่จะวิจัย

ตัวอย่างเช่น

“ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547”

ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ แต่ไม่ฟุ่มเฟือย อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น

“การศึกษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : เปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร 2547”

2) ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้นๆ ตอบว่า ศึกษาปรากฏการณ์หรือตัวแปรอะไร  กับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไร (ถ้าเกี่ยวกับเวลา)

ตัวอย่างเช่น

“การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบกับวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง”

3) ชื่อเรื่อง ควรขึ้นต้นด้วยคำนาม เพื่อให้เกิดความไพเราะสละสลวย ที่นิยมกัน คือ มักจะขึ้นด้วยคำว่า  การศึกษา  การสำรวจ  การวิเคราะห์  การเปรียบเทียบ

ตัวอย่างเช่น

“การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสมองกับความสามารถทางการคิดแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษา”

“การเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนจากการประเมินผลหลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช  2503  และพุทธศักราช  2521”

4) ภาษาที่ใช้ต้องอ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องตีความอีก ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ

5) การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าจะศึกษาในประเด็นที่คล้ายๆ กันก็ตาม

นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย  (คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)

หลังจากผู้วิจัยได้กำหนดชื่อเรื่องที่จะวิจัยชัดเจนแล้ว  ให้ลองตรวจสอบดูว่าชื่อเรื่องที่จะวิจัยมีความเหมาะสมหรือไม่  โดยตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (ไพทูรย์  เวทการ.  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.  ลำปาง : โรงพิมพ์ช่างแดง, 2540.)

1) ชื่อเรื่องมีความชัดเจน รัดกุม และสื่อความหมายได้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวิจัยหรือไม่

2) ชื่อเรื่องได้มีการระบุปัญหาเป็นการเฉพาะหรือชี้ชัดประเด็นที่จะศึกษาได้เพียงใด

3) ชื่อเรื่องกว้างหรือแคบเกินไปหรือไม่

4) การใช้คำขึ้นต้นมีลักษณะเป็นคำนามที่สื่อความหมายได้เพียงใด

5) การตั้งชื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพียงใด


สำหรับุคคลทั่วไปที่สนใจเรียนตัดต่อวีดิโอด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS 5.5 แบบออนไลน์ (โดยผมเป็นวิทยากรเอง) สามารถศึกษารายละเอียดและสมัครเรียนได้ตามลิงก์ข้างล่างครั

https://edumall.co.th/courses/primiere-pro-cs5_pipit/detail

โดยท่านสามารถส่งอีเมล์ขอรับรหัสโปรโมชั่นได้ที่ pipit.pch@hotmail.com เพื่อใช้ลดราคาในการซื้อคอร์สเรียนจากราคา 1,999 บาท เหลือราคา 899 บาท

Effective date: 8th Sep 2017 – 8th Oct 2017


 

ใส่ความเห็น